Wednesday, May 11, 2011

หมอลำเมืองอุบล

รรพชนชาวอุบลราชธานี มีการแสดงพื้นบ้านอยู่ 3 ลักษณะ คือ ดนตรี การขับร้อง ฟ้อนรำ และการแสดงโดยใช้หุ่น สำหรับดนตรีในอดีตมีทั้งการบรรเลงล้วนๆ และการบรรเลงประกอบการร้องและการฟ้อนรำ เครื่องดนตรีทั้งหลาย แคน นับว่าได้รับความนิยมมากที่สุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแคนต้องใช้ประกอบการรำต่างๆ อุบลราชธานีจึงได้ชื่อว่าเป็นถิ่น "ดอกคูณเสียงแคน"
ในระยะต่อมามีการนำโปงลางและไหมาเล่นประกอบในวงดนตรีพื้นบ้าน เรียกว่า วงโปงลาง และนำเครื่องดนตรีสากลมาประกอบการลำและการแสดงอื่นๆ ในปัจจุบันดนตรีและศิลปะการแสดงของจังหวัดอุบลราชธานีอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
  • หมอลำหรือวงหมอลำ (ลำหมู่ - ลำเพลิน - ลำซิ่ง)
  • วงโปงลาง
  • วงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีสากลเล่นประกอบพิณ (เพชรพิณทอง)
ส่วนการแสดงโดยใช้หุ่นซึ่งได้แก่หนังปราโมทัย ในปัจจุบันยังมีการแสดงอยู่บ้าง แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
pหมอลำ

หมอลำหมู่ดั้งเดิม
การลำ นับเป็นการแสดงพื้นบ้านที่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และได้รับความนิยมมาทุกยุคทุกสมัย เริ่มจากการลำพื้น ซึ่งได้แก่การนำเนื้อหาของนิทานพื้นบ้าน เช่น การะเกด สินไซร (สังข์ศิลป์ชัย) นางแตงอ่อน มาลำโดยใช้หมอลำ 1 คนและหมอแคน 1 คน ผู้ลำสมมุติตนเป็นตัวละครทุกตัวในเรื่องและลำตลอดคืน การลำพื้นนับเป็นต้นกำเนิดของการลำทุกประเภท
ต่อมาลำพื้นได้วิวัฒนาการมาเป็นการลำคู่ ซึ่งได้แก่การลำ 2 คน ชายกับชาย หรือชายกับหญิง (จนประมาณปี พ.ศ. 2495 การลำระหว่างชายกับชายจึงเลิกไป) หมอลำคู่ยังแตกแขนงออกเป็นลำซิงชู้ ซึ่งประกอบด้วยผู้ลำชาย 2 หญิง 1 หรือหญิง 2 ชาย 1 เพื่อแย่งชิงชายหรือหญิงที่มีอยู่เพียงคนเดียว
หมอลำคู่ที่มีชื่อเสียงชาวอุบลราชธานีมีมากมาย จนเมืองอุบลได้ชื่อว่า เป็น "เมืองหมอลำ" หมอลำที่มีชื่อเสียงในอดีตนับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แก่ หมอลำคูณ (ชาย) และหมอลำจอมศรี (หญิง) เป็นหมอลำคู่แรกที่ได้บันทึกเสียงลงแผ่นเสียงเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และได้เผยแพร่ออกอากาศจนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ปัจจุบันหมอลำทั้งคู่ได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว (ซึ่งเรามีตัวอย่างกลอนลำของท่านทั้งสองที่นี่ Click!)
นายทองมาก จันทะลือ
หมอลำทองมาก จันทะลือ (ชาย) ฉายา หมอลำถูทา เดิมมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น แต่มาประกอบอาชีพเป็นหมอลำ และผู้แต่งกลอนลำจนมีชื่อเสียง ได้มาตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี หมอลำทองมากได้ชื่อว่า เป็นผู้มีปฏิภาณมีไหวพริบในการลำ สามารถลำโต้ตอบแบบกลอนสดชนิด "ลำแตก" จนได้รับยกย่องให้เป็น "ศิลปินแห่งชาติ" เมื่อปี พ.ศ. 2529 นับเป็นหมอลำคนแรกที่ได้รับเกียรติอันสูงสุดนี้
เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ ส.ส. อุบลราชธานี 1 สมัย ปัจจุบันได้ตั้งสมาคมหมอลำถูทาบริการ และรับงานแสดง ตลอดจนช่วยเหลืองานราชการอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในงานรณรงค์ด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จึงนับได้ว่าเป็นบุคคลที่สร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติ ด้วยการนำเอาศิลปพื้นบ้านมารับใช้สังคม
ภาพนี้ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก Veteethai.com
หมอลำเคน ดาเหลา (ชาย) ฉายา "เคนฮุด" เป็นชาวอุบลราชธานี ไปมีชื่อเสียงโด่งดังที่จังหวัดขอนแก่น ที่ได้ฉายาว่า "ฮุด" ก็เพราะว่าในเวลาลำจะสามารถดันไปได้แบบสู้ไม่ถอย หมอลำเคนมีน้ำเสียงห้าว ไพเราะ และรูปร่างหน้าตาดี ทั้งยังสามารถแต่งกลอนลำได้ด้วย ลีลาการฟ้อนรำก็สวยงามเป็นที่ประทับใจ ในปี พ.ศ. 2534 จึงได้รับการยกย่องให้เป็น "ศิลปินแห่งชาติ" อีกคนหนึ่ง นับเป็นหมอลำคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรติดังกล่าว
ปัจจุบันได้ตั้งโรงเรียนสอนการลำให้กับเยาวชนที่สนใจ อยากจะเป็นศิลปินด้านหมอลำ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมอีสานให้ยั่งยืนตลอดไป รวมทั้งแต่งกลอนลำให้กับหมอลำรุ่นใหม่ๆ รวบรวมคณะหมอลำต่างๆ เข้ามาในสังกัดเพื่อช่วยเหลือการรับงานลำทั่วประเทศ
ภาพนี้ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก Veteethai.com
นายเคน ดาเหลา
หมอลำฉวีวรรณ พันธุ
นางฉวีวรรณ พันธุ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ที่ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ราชินีหมอลำ ที่มีความสามารถโดดเด่น มีไหวพริบปฏิภาณด้านหมอลำที่เฉียบแหลมยิ่งคนหนึ่ง โดยได้รับการฝึกฝนเรื่องหมอลำจากบิดา ญาติ และหมอลำที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีตหลายท่าน ซึ่งความจัดเจนเรื่องหมดลำที่ฝึกฝนมาตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เป็นหมอลำที่มีความสามารถสูงทั้งด้านการแต่ง กลอนลำ การคิดท่วงทำนองหมอลำกลอน เขียนกลอนลำ ประดิษฐ์ท่ารำ และบทร้องชุดแม่อีสาน 48 ท่า ประกอบกับบุคคลที่มีน้ำเสียงไพเราะ มีพลังทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพชรน้ำหนึ่งของแดนอีสาน และได้รับการกล่าวขานด้วยความชื่นชมจากประชาชนว่าเป็น ราชินีหมอลำ
นางฉวีวรรณ พันธุ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพุทธศักราช 2536
ภาพนี้ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก Veteethai.com
หมอลำบุญเพ็ง ไฝผิวชัย
ภาพนี้ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก
Veteethai.com
นางบุญเพ็ง ไฝผิวชัย เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดอุบลราชธานี สนใจฝึกแสดงหมอลำมาตั้งแต่อายุ 12 ปี กับหมอลำทองมี สายพิณ หมอลำสุบรรณ พละสูรย์ เป็นผู้ที่มีความจำและไหวพริบปฏิภาณสูง ฝึกลำอยู่เพียง 2 ปี ก็สามารถรับงานแสดงเป็นของตนเองได้ และเนื่องจากหมอลำที่มีสำนวนคมคาย สามารถโต้ตอบกับหมอลำฝ่ายชายได้อย่างเฉลียวฉลาด เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม ทำให้มีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ได้ชื่อว่าเป็นหมอลำที่มีคารมกล้า โต้ตอบกับคู่ลำด้วยไหวพริบที่ฉับไว กลอนลำแต่ละกลอนมีสาระเชิงปรัชญาชีวิต ให้คติสอนใจที่แยบคาย ทำให้เป็นหมอลำหญิงคนเดียวเมื่อปี พ.ศ. 2498 ที่ได้รับการบันทึกแผ่นเสียงมากที่สุด มีงานแสดงทั้งกลางวันกลางคืน เป็นศิลปินของประชาชนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชานีหมอลำ เคยได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2533 ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2537 จากคณกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

นางบุญเพ็ง ไฝผิวชัย จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพุทธศักราช 2540
หมอลำคำปุ่น ฟุ้งสุข (หญิง) เป็นหมอลำอาวุโสอีกคนหนึ่งที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังในอดีต เคยชนะการประกวดหมอลำในระดับต่างๆ หลายรางวัลเช่น เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดหมอลำทั่วประเทศฝ่ายหญิง พ.ศ. 2502 ณ เวทีมวยลุมพินีกรุงเทพฯ หมอลำคำปุ่นเป็นหมอลำสตรีที่สามารถแต่งกลอนลำได้ดี ปัจจุบันแม้จะไม่ค่อยปรากฏตัวแต่ก็ได้แต่งกลอนลำให้ลูกศิษย์อยู่อย่างสม่ำเสมอ
การลำได้วิวัฒนาการต่อไปอีกจากการลำ 2 - 3 คน กลายมาเป็นการลำหลายๆ คน คือ ประมาณ 10 คนขึ้นไป เรียกว่า การลำหมู่ เป็นการลำตามเรื่องราวจากนิทานพื้นบ้าน หรือนิทานชาดก ผู้แสดงแต่ละคนจะแสดงบทบาทตามตัวละครในท้องเรื่องแตกต่างกันไป ลีลาการลำก็มีหลายแบบ อาทิเช่น ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น คณะหมอลำหมู่ที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดอุบลราชธานี คือ คณะรังสิมันต์
(ระหว่างปี พ.ศ. 2506 - 2510) พระเอกและนางเอกที่มีชื่อเสียงของคณะคือ หมอลำทองคำ เพ็งดี และ หมอลำฉวีวรรณ ดำเนิน ซึ่งหมอลำคณะนี้มีการนำเครื่องดนตรีสากลบางชิ้น เช่น กีตาร์ ออร์แกน มาบรรเลงประกอบเพื่อให้เกิดความครึกครื้นยิ่งขึ้น จวบจนปัจจุบันเครื่องดนตรีสากลเหล่านี้ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวง และวงหมอลำหมู่ได้กลายสภาพมาเป็น กึ่งวงดนตรีลูกทุ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงตอนที่จะต้องลำ แคนก็ยังต้องเป่านำ เพื่อให้ได้บรรยากาศของการลำที่แท้จริง
หมอลำทองคำ เพ็งดี มีฉายาว่า นกกาเหว่า เพราะเป็นผู้มีน้ำเสียงไพเราะเป็นหนึ่งในการลำล่องในสมัยนั้น นอกจากนั้นยังมีความสามารถในการแต่งกลอนลำได้อีกด้วย ลำล่องที่สร้างชื่อเสียงให้แก่หมอลำทองคำเป็นอย่างมากคือ ลำล่องเรื่องจำปาสี่ต้นส่วนหมอลำฉวีวรรณ ดำเนิน เป็นผู้มีน้ำเสียงใสกังวาล จึงมีผู้เปรียบว่า ประดุจเสียงทอง ต่อมาคณะหมอลำรังสิมันต์ได้นางเอกอีกคนหนึ่งคือ หมอลำบานเย็น รากแก่น ซึ่งมีความสวยเป็นที่เลื่องลือ กอร์ปกับลีลาการฟ้อนประกอบการรำของเธอก็มีลีลาอ่อนช้อย สวยงาม จึงได้รับความนิยมมาก ซึ่งต่อมาได้แยกวงมาตั้งคณะใช้ชื่อของตนเอง
คณะรังสิมันต์ ได้ยุบวงไปเมื่อ พ.ศ. 2512 หมอลำทองคำประกอบอาชีพส่วนตัว และรับงานเป็นครั้งคราว คู่กับหมอลำฉวีวรรณ (ปัจจุบัน หมอลำฉวีวรรณ ได้ไปช่วยถ่ายทอดศิลปแห่งการลำและฟ้อนรำที่ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด)
หมอลำบานเย็น รากแก่น เป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิด หลังจากแยกออกมาจากคณะรังสิมันต์แล้ว ได้ตั้งวงรับงานแสดง มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงมากมาย ในที่สุดก็ยุบวงไป ปัจจุบันยังประกอบอาชีพด้านนี้อยู่ ณ กรุงเทพมหานคร และได้บันทึกเสียงเพลงลูกทุ่งอีสานออกมาเผยแพร่อีกหลายชุด ได้เสียสละเวลาเดินทางมาให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ที่ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี เพื่อสืบสานมรดกอีสานอยู่มิได้ขาด
หมอลำสมาน หงษา อดีตเคยเป็นบุรุษไปรษณีย์แต่ได้ลาออกมาประกอบอาชีพหมอลำ เคยประกวดหมอลำได้รับรางวัลชนะเลิศหลายรางวัล หมอลำสมานตั้งคณะของตนเองชื่อว่า คณะเพชรเสียงทอง โดยแสดงในแนวชาดก ตลกสะท้อนภาพสังคมในปัจจุบัน ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี เช่นเรื่อง "แม่เฒ่ามักลูกเขย" ปัจจุบันยังคงรับงานแสดง และดัดแปลงการลำเอาใจตลาด โดยการลำซิ่งบ้างเป็นบางโอกาส
หมอลำคู่ขวัญในอดีตอีกคู่หนึ่งคือ หมอลำป. ฉลาดน้อย (ชาย) และ หมอลำอังคนางค์ คุณไชย (หญิง) ร่วมกันก่อตั้งคณะอุบลพัฒนา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 แล้วได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดหมอลำหมู่ ทางสถานีโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 5 จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2515 ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากคือ การบันทึกแผ่นเสียงลำเรื่องต่อกลอนเรื่อง นกกระยางขาว
ต่อมา หมอลำอังคนางค์ได้อัดแผ่นเสียงเพลงแนวลูกทุ่งที่ได้รับความนิยมหลายเพลง ได้แก่ สาวอุบลรอรัก พี่จ๋าหลับตาไว้ และอีสานลำเพลิน ต่อมาทั้งคู่แยกวงไปตั้งคณะใหม่ โดยอังคนางค์ตั้งคณะหมอลำชื่อ คณะอุบลพัฒนายุคใหม่ ส่วน ป.ฉลาดน้อย ได้ตั้งคณะเพชรอุบล รับงานการแสดงเรื่อยมา แต่ทั้งคู่ก็ยังคงมีผลงานร่วมกันเป็นครั้งคราวโดยการนำเอานิทานและนิยายปัจจุบันที่เป็นที่นิยมมาบันทึกเสียงเป็นลำเรื่องต่อกลอน เช่น คู่กรรม แม่เบี้ย เป็นต้น
pวงโปงลาง
วงโปงลาง เป็นวงดนตรีซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านบรรเลง เครื่องดนตรีเด่นๆ ได้แก่ โปงลาง แคน พิณ โหวด กลอง ไห เป็นต้น นิยมบรรเลงเพลงลายพื้นบ้าน เช่น ลายนกไซบินข้ามทุ่ง แมงภู่ตอมดอก แม่ฮ้างกล่อมลูก เป็นต้น นอกจากนั้นยังบรรเลงประกอบการแสดงต่างๆ เช่น ลำตังหวาย และบรรเลงเพลงทั่วไปเช่น เพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล
วงโปงลางในจังหวัดอุบลราชธานีมีหลายวง ส่วนใหญ่เป็นวงของโรงเรียนทั้งระดับประถมและมัธยม และสถาบันการศึกษาอื่น ที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายคือ วงโปงลางของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ซึ่งตั้งเมื่อ พ.ศ. 2524 โดยภาควิชานาฏศิลป์และภาควิชาดนตรี มีผลงานเผยแพร่ไปตามจังหวัดต่างๆ ทั้งในนามของวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และกรมการฝึกหัดครู ได้รับเชิญให้ไปแสดงในงานสัปดาห์แผ่นดินธรรมแผ่นดินทองและอีสานเทรดแฟร์ทุกปี นอกจากนี้ยังได้รับเชิญไปแสดงต่างประเทศมาแล้ว 4 ครั้ง
ความโดดเด่นของวงโปงลางคณะนี้ได้แก่ ท่ารำที่สวยงามและหลากหลาย เครื่องแต่งกายที่มีสีสันสะดุดตาเป็นเอกลักษณ์ ได้ฟื้นฟูและประดิษฐ์ท่ารำต่างๆ จากประเพณีและวัฒนธรรมของอีสาน เช่น รำคูณลาน รำดอกบัว เซิ้งขอฝน และการรำที่เป็นเอกลักษณ์ของวงคือ รำตังหวาย ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2534 วงโปงลางวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ได้รับการยกย่องจาก สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ให้ได้รับรางวัลสังข์เงิน นับเป็นวงโปงลางวงแรกที่ได้รับเกียรตินี้
นพดล ดวงพรpวงดนตรีเพชรพิณทอง
นายณรงค์ พงษ์ภาพ หรือที่รู้จักกันดีในนามของ นพดล ดวงพร เป็นหัวหน้าวงดนตรีเพชรพิณทอง ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 นพดล ดวงพร เป็นลูกศิษย์และเคยร่วมงานในวงดนตรีของครูมงคล อมาตยกุล (วงดนตรีจุฬารัตน์) อยู่หลายปีได้รับประสบการณ์มากมาย ด้วยความที่อยากสร้างเอกลักษณ์ของตนเองและคนอีสานจึงได้แยกตัวออกมาตั้งวงเพชรพิณทอง โดยนำเอาเครื่องดนตรีพื้นบ้านคือ พิณ มาร่วมบรรเลงกับเครื่องดนตรีสากล จึงได้ชื่อคณะว่า เพชรพิณทอง ซึ่งหมอพิณคู่ใจที่สร้างตำนานมาด้วยกันคือทองใส ทับถนน นอกจากนั้น จุดเด่นของวงเพชรพิณทองอยู่ที่ ทีมพิธีกร ที่ใช้ภาษาท้องถิ่นอีสานเป็นหลักในการนำเสนอเนื้อหา รีวิวประกอบเพลง เป็นทีมตลกที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ประกอบด้วย นพดล ดวงพร ลุงแนบ หนิงหน่อง ใหญ่ หน้ายาน และแท็กซี่ เป็นต้น
นอกเหนือจากการร้องเพลงและหางเครื่องอันตระการตาจำนวนมากแล้ว วงเพชรพิณทองยังสามารถออกเทปตลกชุดต่างๆ หลายชุดที่โด่งดังจำหน่ายเช่น หนิงหน่องย่านเมีย บวชลุงแนบ สามใบเถา เป็นต้น เกียรติคุณที่ได้รับได้แก่ การมีโอกาสแสดงหน้าพระที่นั่งที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2514 และได้รับยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2532
นอกจากบุคคลที่กล่าวมาแล้ว ยังมีหมอลำอีกเป็นจำนวนมากที่ยังมีชีวิตอยู่และได้รับความนิยมทั้งสามารถแต่งกลอนลำได้ อาทิ หมอลำคำเก่ง บัวใหญ่ หมอลำทองลา สายแวว หมอลำทองสุ่น บุญเติม หมอลำบุญมา รักษาศรี หมอลำสุพรรณ ติระนันท์ หมอลำกองมี คำภูทา หมอลำเหล็กกล้า ขันชาลี เป็นต้น ขณะนี้เท่าที่รวบรวมรายชื่อได้มีประมาณ 300 คน (สำหรับคณะหมอลำหมู่ถือว่า 1 คณะเท่ากับ 1 คน)
ทองใส ทับถนน กับพิณคู่ใจ
ศิลปินพื้นบ้าน พิณแคนแดนอีสาน
ส่วนผู้สร้างผลงานเพลงนอกเหนือจาก เพชรพิณทอง ของนพดล ดวงพร และบานเย็น รากแก่นแล้ว ยังมี เทพพร เพชรอุบล เจ้าของเพลง อีสานบ้านเฮาอันโด่งดัง ไกรสร เรืองศรี สนธิ สมมาตร สลา คุณวุฒิ ต่าย อรทัย เอกพล มนต์ตระการและอีกหลายๆ คน
การที่ดนตรีและการแสดงพื้นบ้านของชาวอุบลราชธานี ได้มีวิวัฒนาการมาอย่างไม่ขาดตอน ทำให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามความนิยมของยุคสมัย แต่เป็นที่น่าสังเกตประการหนึ่งว่า ไม่ว่าจะเป็นหมอลำ วงโปงลางหรือวงดนตรีเพชรพิณทอง ล้วนได้รับความนิยม และกล่าวขวัญถึงในระดับประเทศ และจะยังคงมีวิวัฒนาการสืบไปคู่กับชาวอุบลราชธานี และเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานชั่วนิรันดร์

หมอลำ... ศิลปพื้นบ้านที่ไม่มีวันตายไปจากลมหายใจของชาวอีสาน...
ที่มา : วารสาร "อุบลเมืองนักปราชญ์"
ฉบับปฐมฤกษ์ ธันวาคม 2544

ประเภทของหมอลำ

วิวัฒนาการของหมอลำ
            เดิมทีสมัยโบราณในภาคอีสานเวลาค่ำเสร็จจากกิจธุรการงานมักจะมาจับกลุ่มพูดคุยกัน กับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อคุยปัญหาสารทุกข์สุกดิบและผู้เฒ่าผู้แก่นิยมเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม ทีแรกนั่งเล่าเมื่อลูกหลานมาฟังกัน มากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่นเรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุกผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบ และหาเครื่องดนตร ีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดงมีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อ ผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่าง ๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิงเด่นยาด (แย่งชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน ขันท้า เรื่องตลกโปกฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ จากการมีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อย ๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่อง ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครใน เรื่อง มีพระเอก นางเอก ตัวโกงตัวตลก เสนา ครบถ้วน

หมอลำกลอน
            หมอลำกลอน เป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่อันหนึ่งของอีสานลักษณะเป็นการลำ ที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกันมีเครื่องดนตรีประกอบเพียงชนิดเดียว คือแคน
การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอนลำทวย (ทายโจทย์ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีสามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำขึ้นอีกหนึ่งคนอาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรักหักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้ปัจจุบันกลอนนั้นหาดูได้ยากเพราะขาดความนิยมลงไปมากแต่ว่าปัจจุบันได้วิวัฒนการมาเป็นหมอลำซิ่งเพื่อความอยู่รอดและผลก็คือได้รับความนิยมในปัจจุบัน

หมอลำกลอนซิ่ง
หมอลำกลอนซิ่งเป็นศิลปะการแสดงของชาวอีสานโดยได้นำเอาศิลปะที่มีมาตั้งแต่เดิมมาดัดแปลงประยุกต์ให้ทันสมัยคือนำเอาหมอลำกลอนซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นการลำประกอบ
แคนเพียงอย่างเดียวมาประยุกต์เข้าดนตรีชิ้นอื่น ๆ เช่น พิณ เบส และกลองชุด จนได้รับความนิยมปัจจุบันได้มีการนำเอาเครื่องดนตรีสากลเช่น ออร์แกนคีย์บอร์ดมาประยุกต์เล่นเป็นทำนองหมอลำ ทำให้จังหวะสนุกคึกครื้น ประกอบกับการนำเพลงสากลเพลงสตริงเพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตมาประยุกต์เข้าด้วยลำซิ่ง เป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน)ใช้เครื่องดนตรี สากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว หมอลำกลอนซิ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นธุรกิจความความบันเทิงที่ได้รับความนิยม อีกแขนงหนึ่ง ที่ชาวอีสานนิยมจ้างไปเป็นมหรสพสมโภชน์งานที่ได้จัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆรูปแบบการแสดง จะเป็นการร้องรำทำนองหมอลำประยุกต์กับเพลงที่สนุก โดยมีหมอลำฝ่ายชายคอยร้องแก้กับ หมอลำฝ่ายหญิง พร้อมกับ การ โชว์ลีลา การร่ายรำที่อ่อนช้อยงดงามและมีหมอแคนเป่าแคนประกบอยู่ข้าง ๆเพื่อคอยคลอแคนให้หมอลำไม่หลงคีย์เสียงของตนเองซึ่งหมอลำแต่ละคนจะมีหมอแคนประจำตัวของตัวเองปัจจุบัน วงหมอลำซิ่งใหญ่ ๆ จะมีหางเครื่องเพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย การว่าจ้าง เจ้าภาพจะเป็นคนจับคู่หมอลำเอง เพื่อจะได้เห็นการร้องแก้กันด้วยความสนุกสนานและมีไหวพริบ

หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน
เป็นการลำที่มีผู้แสดงครบหรือเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครในเรื่องที่ดำเนินการแสดงมีอุปกรณ์ประกอบทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจังและยังมี.เครื่องดนตรีประกอบ
แต่เดิมทีมีหลัก ๆคือ พิณ (ซุง หรือ ซึงแคน กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอนหมอลำแสดงเป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่อง ค่อนข้างช้า แต่ก็ได้ อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของ ลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ประยุกต์ กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง(หมอลำมาร้องเพลงลูกทุ่งหรือบางคณะหมอลำได้นำเพลงสตริง ที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่อง ดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟู มากที่สุดคณะหมอลำดัง ๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัดขอนแก่น มหาสารคามอุบลราชธานี หมอลำหมู่สามารถแบ่งตามทำนองของบทกลอนลำได้อีกซึ่งแต่ละทำนองจะออกเสียงสูงต่ำ ไม่เหมือนกัน ได้แก่ ทำนองขอนแก่น ทำนองกาฬสินธิ์ มหาสารคาม ทำนองอุบล เป็นต้น

แคน

ประวัติความเป็นมาของแคน


คน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้
 หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์ทำแคน
าลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพรานคนหนึ่งได้ไปเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก (นกการเวก) ร้องไพเราะจับใจมาก เมื่อกลับมาจากป่าถึงบ้าน จึงได้เล่าเรื่องที่ตัวเองไปได้ยินเสียง นกกรวิกร้องด้วยเสียงไพเราะนั้นให้แก่ชาวบ้านเพื่อนฝูงฟัง ในจำนวนผู้ที่มาฟังเรื่องดังกล่าวนี้ มีหญิงหม้ายคนหนึ่ง เกิดความกระหายใคร่อยากจะฟังเสียงร้องของนกกรวิกยิ่งนัก จึงได้พูดขอร้องให้นายพรานล่าเนื้อ อนุญาตให้ตนติดตามไปในป่าด้วย เพื่อจะได้ฟังเสียงร้องของนก ตามที่นายพรานได้เล่าให้ฟังในวันต่อมา
ครั้นเมื่อนายพรานล่าเนื้อได้พาหญิงหม้ายดั้นด้นไปถึงในป่า จนถึงถิ่นที่นกกรวิก และนกเหล่านั้นก็กำลังส่งเสียงร้องตามปกติวิสัยของมัน นายพรานก็ได้กล่าวเตือน หญิงหม้ายให้เงี่ยหูฟังว่า
"นกกรวิกกำลังร้องเพลงอยู่ สูเจ้าจงฟังเอาเถอะ เสียงมันออนซอนแท้ แม่นบ่"
หญิงหม้ายผู้นั้น ได้ตั้งใจฟังด้วยความเพลิดเพลิน และติดอกติดใจในเสียงอันไพเราะ ของนกนั้นเป็นยิ่งนัก ถึงกับคลั่งไคล้ใหลหลง รำพึงอยู่ในใจตนเองว่า
"เฮ็ดจั่งได๋นอ จั่งสิได้ฟังเสียงอันไพเราะ ม่วนชื่น จับใจอย่างนี้ตลอดไป ครั้นสิคอยเฝ้า ฟังเสียงนกในถิ่นของมัน ก็เป็นแดนดงแสนกันดาร อาหารก็หายาก หมากไม้ก็บ่มี" จึงได้คิดตัดสิน แน่วแน่ในใจตนเองว่า
"เฮาสิต้องคิดทำเครื่องบังเกิดเสียง ให้มีเสียงเสนาะ ไพเราะออนซอนจับใจ ดุจดังเสียง นกกรวิกนี้ให้จงได้"
เมื่อหญิงหม้ายกลับมาถึงบ้าน ก็ได้คิดอ่านทำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า หลาย ๆ อย่าง ก็ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใด มีเสียงไพเราะวิเวกหวานเหมือนเสียงนกกรวิก ในที่สุดนาง ได้ไปตัดไม้ไผ่น้อยชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง แล้วลองเป่าดูก็รูสึก ค่อนข้างไพเราะ จึงได้พยายามดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งเกิดเป็นเสียงและ ท่วงทำนองอันไพเราะเหมือนเสียงนกกรวิก
แคน เสียงจากลมไผ่
จนในที่สุด เมื่อได้แก้ไขครั้งสุดท้ายแล้วลองเป่าก็รู้สึก ไพเราะออนซอนดีแท้ จึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงทราบ ก่อนที่จะได้เข้าเฝ้า นางก็ได้เพียรพยายามปรับปรุงแก้ไขเสียงดนตรีของนางให้ดีขึ้นกว่า เดิม และยังได้ฝึกหัดเป่าเป็นท่วงทำนองต่าง ๆ จนมีความชำนาญเป็นอย่างดี
ครั้นถึงกำหนดวันเข้าเฝ้า นางก็ได้เป่าดนตรีจากเครื่องมือที่นางได้คิดประดิษฐ์ขึ้นนี้ ถวาย เมื่อเพลงแรกจบลง นางจึงได้ทูลถามว่า "เป็นจั๋งได๋ ม่วนบ่ ข้าน้อย"
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสตอบว่า "เออ พอฟังอยู่"
นางจึงได้เป่าถวายซ้ำอีกหลายเพลง ตามท่วงทำนองเลียนเสียงนกกรวิกนั้น เมื่อจบถึง เพลงสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงตรัสว่า "เทื่อนี่ แคนแด่" (ครั้งนี้ ดีขึ้นหน่อย)
หญิงหม้าย เจ้าของเครื่องดนตรี จึงทูลถามว่า "เครื่องดนตรีอันนี่ ควรสิเอิ้นว่าจั่งได๋ ข้าน้อย" (เครื่องดนตรีนี้ ควรจะเรียกว่าอย่างไร พระเจ้าข้า)
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงตรัสว่า "สูจงเอิ้นดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำเว้าของเฮา อันท้ายนี้ สืบไปเมื่อหน้าเทอญ" (เจ้าจงเรียกดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำพูดของเราตอนท้ายนี้ ต่อไปภายหน้าเถิด)
ด้วยเหตุนี้ เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่น้อยมาติดกันใช้ปากเป่า จึงได้ชื่อว่า "แคน" มาตราบเท่าทุกวันนี้
นี่เป็นเพียงนิทานปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน
บางท่านก็สันนิษฐานว่า คำว่า "แคน" คงจะเรียกตามเสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกมาว่า "แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน" ซึ่งเป็นเสียงที่ดังออกมาจากการเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ บางคนก็มีความเห็นว่า คำว่า "แคน" คงเรียกตามไม้ที่ใช้ทำเต้าแคน กล่าวคือ ไม้ที่นำมาเจาะใช้ ทำเต้าแคนรวมเสียงจากไม้ไผ่น้อยหลาย ๆ ลำนั้น เขานิยมใช้ไม้ตะเคียน ซึ่งภาษาท้องถิ่นทางภาค อีสานเรียกว่า"ไม้แคน" แต่บางท่านก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกันออกไป
แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าคิดอยู่บ้างคือ "แคน" นี้น่าจะทำขึ้นโดยผู้หญิง ซ้ำยังเป็น "หญิงหม้าย" เสียด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า ส่วนประกอบที่ใช้ทำแคนอันสำคัญคือส่วนที่ใช้ปากเป่า ยังเรียกว่า "เต้า แคน" และมีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย "เต้านม" ของสตรีอีกด้วย ทั้งการเป่าแคนก็ใช้วิธี เป่าและดูด จนสามารถทำให้เกิดเสียงอันไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อคือ คำที่เป็นลักษณะนามเรียกชื่อ และจำนวนของแคนก็ใช้คำว่า "เต้า" แทนคำว่า อัน หรือ ชิ้น ฯลฯ ดังนี้ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เสียงของแคนเป็นเสียงที่ไพเราะอ่อนหวาน ซาบซึ้งเหมือนเสียงนกการเวก ตาม นิทานเรื่องดังกล่าว เหมือนเสียงของหญิงหม้ายที่ว้าเหว่เดียวดาย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า "หญิงหม้าย" เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำแคนขึ้นเป็นคนแรก จึงเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังได้มากพอสมควรทีเดียว
ลักษณะของแคนมีสองชนิด คือ แคนน้อย (ยาวศอก คืบ ยาวสองศอก ยาวสองศอกคืบ) และแคนใหญ่ (ยาวสามศอก ยาวสามศอกคืบ สี่ศอก สี่ศอกคืบ) ที่เคยใช้ในปัจจุบัน แต่ที่เคยมี ยาวถึงหกศอก แคนสองขนาดนี้แบ่งเป็นสองอย่าง คือ แคนเจ็ด และแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็คู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่

แคนเจ็ด


แคนเจ็ด
แคนแปด
แคนแปด
ส่วนแคนของเผ่าลาวลุ่มนั้นมีหกคู่ และแคนของเผ่าลาวสูงมีแค่สามคู่เท่านั้น และใช้ท่อต่อเต้าสำหรับการเป่าตามธรรมดา
แคนลาว
แคนลาวสูง ลาวลุ่ม ลาวเทิง
"แคน" ทำด้วยไม้อ้อ หรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยาก เขาจึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อย และจะต้องหาให้ได้ขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ นอกจากไม้เหี้ยน้อย ซึ่งทำเป็นลูกแคนยาวลดหลั่นกันตามลำดับ 7 คู่ หรือ 8 คู่ ประกอบเข้ากันกับเต้า ติดสูด (ขี้สูด) ข้างบนและข้างล่างเต้า เพื่อไม่ให้ลมเป่าเข้าสูบออกรั่ว แล้วยังมีลิ้นแคน รูแพว และรูนับเสียงเป็นสิ่งสำคัญด้วย ข้างในของแต่ละลำไม้ลูกแคนประกอบด้วยลิ้นแคนหนึ่งอันที่มีหนึ่งเสียง และจะต้องเจาะรูแพวให้ถูกตามเสียงเสมอ วิธีเป่าแคนลาวลุ่มก็เหมือนกับการเป่าแคนลาวเทิง หรือ ลาวสูง คือจะต้องใช้อุ้งมือทั้งสองข้าง อุ้มเต้าแคนไว้แล้ว เป่าหรือดูดสูบลมที่รูเต้า ส่วนนิ้วมือก็นับไล่ตามเสียงไปด้วย

หมู่บ้านหมอลำ

ระวัติความเป็นมาของบ้านปลาค้าว
     เมื่อประมาณ 150 - 200 ปี มาแล้ว มีนายพรานเกิ้น กับนายพรานสีโท พร้อมลูกน้องสมุน อพยพครอบครัวจากหนองบัวลำภู นั่งหลังช้าง เดินทางมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านขามเฒ่า อำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาสองนายพรานได้ออก หาล่าเนื้อในละแวกนี้ ซึ่งเรียกว่า ป่าดงใหญ่ ผู้คนทั้งหลายไม่กล้าที่จะเข้ามาเพราะกลัวผีสาง กลัวสัตว์ร้าย แต่สองนายพรานผู้เชี่ยวชาญการล่าเนื้อ ไม่ได้มีความกลัวแม้แต่น้อย จึงชวนกันมาพักแรมล่าเนื้อในบริเวณป่าหนาทึบ ตรงที่ตั้งหมู่บ้านปลาค้าวในปัจจุบัน บริเวณนี้มีลำห้วย มีหนองน้ำ มีสัตว์ป่า หมู่ปลาชุกชุมมาก ในลำห้วยที่เป็นคุ้งน้ำลึก เรียกว่า กุด มีปลาค้าวเนื้ออ่อนจำพวกหนึ่ง ตัวใหญ่ จำนวนมากมาย ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าปลาค้าว นั่นเอง สองนายพรานเห็นว่าที่ตรงนี้เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ จึงพากันย้ายบ้านเรือนมาตั้งที่ป่าแห่งนี้ เนื่องจากมีปลาค้าวเยอะ จึงเรียกชื่อ หมู่บ้านนี้ว่า หมู่บ้านกุดปลาค้าว ซึ่งต่อมาการพูดเพี้ยนสั้นลงเหลือ เฉพาะ ชื่อว่า หมู่บ้านปลาค้าวในปัจจุบัน
                                               ปลาค้าว
     การตั้งบ้านสมัยก่อนไม่ตั้งอยู่รวมกัน พรานสีโท ได้แยกตัวไปตั้งบ้านที่ป่าดงใกล้ ๆ กัน เรียกว่า บ้านดงสีโท แต่พรานทั้งสองก็ไปมาหาสู่และออกล่าเนื้อร่วมกันเรื่อยมา ครั้งหนึ่งสองนายพรานได้พากันไล่ช้างไปทางทิศตะวันออกหมู่บ้าน จึงมีชื่อเรียกว่า ท่าดอนไล่ ตรงหนองที่พรานพุ่งหลาวใส่ช้างเรียกว่า หนองบักหลาว ไล่ล่าช้างขึ้นไปทิศเหนือตามร่องน้ำ ในที่สุดช้างถูกยิงตายเรียกว่า ห่องช้างตาย พรานทั้งสองกับสมุนแบ่งเนื้อช้างกัน พรานสีโทอยากได้หัวช้างจึงหาบคอนเอาจะกลับไปบ้านดงสีโท แต่มันหนักเอาไปไม่ไหวจึงทิ้ง จึงเรียกตรงนั้นว่า ทุ่งหัวช้าง ต่อมาเกิดมีหมู่บ้านรอบข้างไม่ห่างไกลกันเกิดขึ้นอีกมากมาย เช่น หมู่บ้านหนองน้ำเที่ยง บ้านดอนก่อ บ้านนาดี บ้านถ่อนใหญ่ บ้านดอนชี บ้านดอนชาด บ้านหนองลุมพุก ฯลฯ

แห่กลองตุ้มอีสาน
หมอลำกลอน
ทอผ้าหมี่ไหม

    หมู่บ้านปลาค้าว เป็นหมู่บ้านเผ่าภูไท รักความสงบ ชอบความสนุกสนาน งานฝีมือเป็นเลิศ มีวัฒนธรรมที่ลือชื่อคือ หมอลำ มีงานฝีมือที่ยอดเยี่ยมคือ งานแกะสลักตุ๊กตาไม้ขนุน การทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขิด หมอนขิด หมอนฟักทอง การถักเสื้อไหมพรม รวมไปถึงการแสดงดนตรี หมอลำ กลองยาว ร้องสรภัญญะ กล่อมลูก ผญา สอย เป่าแคน ดีดพิณ เล่นเครื่องดนตรีสมัยใหม่ได้ทุกชนิด ปัจจุบันมีคณะหมอลำที่ชื่อเสียงโด่งดัง นำรายได้สู่หมู่บ้านปีละหลายล้านบาท แต่ละปีจะมีบุญประเพณีที่สำคัญ คือ บุญบั้งไฟ บุญมหาชาติ และงานลอยกระทงประจำปีของตำบล ปัจจุบันหมู่บ้านปลาค้าว แบ่งการปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน มีวัด 2 วัด คือ 
วัดศรีโพธิ์ชัย และ วัดฉิมพลี มีโรงเรียน 2 แห่ง คือ โรงเรียนปลาค้าวหนองน้ำเที่ยง โรงเรียนปลาค้าววิทยานุสรณ์
มีสถานที่เคารพนับถืออีกคือ ดอนหอเจ้าปู่ และวัดเก่าวัดสิงห์ทอง

ตู้พระไตรปิฎก
แหย่งช้าง
วิหารช่างญวน
     มีสิ่งที่น่าดูชมคือแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศพระเจ้าใหญ่ศรีโพธิ์ชัยและเชิงอนุรักษ์ มีการแสดงหมอลำรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน มีวิหารช่างญวน พระพุทธรูปเก่าแก่ ตู้พระไตรปิฎก ใบลาน แหย่งช้าง รางสรงน้ำพระ คานหาม เกวียน ช่อฟ้าใบระกาเก่า หัวนาค หัวสิงโตบันไดโบสถ์ โปงไม้เก่าแก่ งานแกะสลัก งานสาน งานประดิษฐ์ สวนผักปลอดสารพิษ ป่าชุมชนโคกบ๋าใหญ่ 718 กว่าไร่ ชลประทานห้วยไห ห้วยคำบอน รวมไปถึงการรับประทานอาหารพาแลง ด้วยอาหารพื้นบ้านของท้องถิ่นที่น่าลิ้มลอง ฯลฯ


http://www.homestayplakaow.com/history.php

รู้จักหมอลำ




หมอลำ เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน ลำซิ่ง รวมทั้ง ลำตัดในภาคกลางก็จัดได้ว่าเป็นหมอลำประเภทหนึ่ง
คำว่า "หมอลำ" มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ "หมอ" หมายถึง ผู้มีความชำนาญ และ "ลำ" หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ ดังนั้น หมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองเพลง